Skip to content

หลักการใช้ชีวิตวิถีเกษตรกรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

วิธีทำไร่ ทำนา ทำสวน ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง

  • Home
  • การเลี้ยงสัตว์
  • การปลูกผัก
  • การปลูกผลไม้
  • การเกษตรแบบผสมผสาน
  • Toggle search form
sufficient-economy เส้นทางการเป็นเกษตรกรตามหลักวิถีพอเพียง การเกษตรแบบพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” หนทางแห่งความสุขจากพ่อหลวงของปวงชนชาวไทย การเกษตรแบบพอเพียง
หลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำไมต้องเริ่มที่เด็ก การเกษตรแบบพอเพียง
Red-lemur การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ตามหลักในหลวงรัชกาลที่ 9 การเกษตรแบบพอเพียง

คำสอนที่พ่อบอกให้ชีวิตดีขึ้น

Posted on August 10, 2018August 10, 2018 By minad
คำสอนที่พ่อบอกให้ชีวิตดีขึ้น

แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จะไม่อยู่แล้ว แต่หากเรามองไปทางไหนก็จะมองเห็นดำริของท่านเต็มไปหมด ไม่เพียงแค่นั้นสิ่งที่ท่านได้ประทานเอาไว้ให้กับเราปวงชนชาวไทยทุกคน นั่นคือ คำสอนต่างๆ ที่แม้ว่าเวลาจะผ่านไปสักเท่าไร คำสอนก็ยังสามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้เสมอ วันนี้เราขออัญเชิญคำสอนของพระองค์ท่านอีกครั้ง หนึ่ง ความเพียร จากพระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ วันที่ 27 ตุลาคม 2516 ได้กล่าวเกี่ยวกับความ เพียรว่า สิ่งสำคัญของความเพียร นั่นคือ ความอดทนไม่ย่อท้อ การจะให้เห็นผลจากความเพียรอาจจะต้องใช้เวลา เราต้องมีความอดทนเพื่อรอให้เกิดผลความเพียร อีกทั้งเราต้องมีความเพียรต่อไปเรื่อยๆ สุดท้ายจะเห็นผลอย่างแน่นอน สอง ความพอดี จากพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2540 ท่านได้อธิบายถึงความพอดีไว้ว่า การสร้างฐานะจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ทำอะไรด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ตรงนี้ตีความได้ว่า เราควรยึดถือคติว่า นกน้อยทำรังแต่พอตัว ทำอะไรอย่าเกินตัวมากนัก มันจะทำให้เราลำบากได้ สาม ความรู้ตน จากพระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก พ.ศ. 2521 ความตอนหนึ่งว่า เด็กๆทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวจะทำให้เป็นคนมีระเบียบ…

Read More “คำสอนที่พ่อบอกให้ชีวิตดีขึ้น” »

การเกษตรแบบพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” หนทางแห่งความสุขจากพ่อหลวงของปวงชนชาวไทย

Posted on May 29, 2017May 29, 2017 By minad
“เศรษฐกิจพอเพียง” หนทางแห่งความสุขจากพ่อหลวงของปวงชนชาวไทย

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พ่อหลวงอันเป็นที่รักและเทิดทูนของเหล่าพสกนิกรชาวไทย ท่านได้ทรงชี้แนะให้เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตแก่ประชาชนของพระองค์ให้ดำเนินชีวิตได้ด้วยความยั่งยืนมั่นคง แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปเพียงใดก็ตาม การดำเนินชีวิตในแบบเศรษฐกิจพอเพียงคือสามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่เสี่ยงต่อผลกระทบที่มีอยู่รอบตัว ตั้งมั่นอยู่บนความมีเหตุผล มีความพอประมาณ มีความขยันหมั่นเพียร อดทนอดกลั้น ดำเนินชีวิตอย่างมีสติ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ทั้งตนเองและผู้อื่น หลักง่าย ๆ ในการประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มีดังนี้ – เอื้อเฟื้อและสามัคคี เราทุกคนเกิดมาล้วนแล้วแต่ต้องมีสังคม มีญาติ มีเพื่อนฝูง มีผู้คนที่อยู่รอบข้าง ดังนั้นการที่เราจะใช้ชีวิตร่วมกับ ผู้อื่นได้ก็ต้องมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เรามีน้ำใจให้เขา เขาก็จะมีน้ำใจให้เรา ก็ทำให้เกิดความรู้สึกอันดีต่อกัน รักใคร่ปรองดองสามัคคีกัน ก็จะทำให้สังคมที่เราอยู่เกิดความสงบสุขขึ้นนั่นเอง – คุณความดีให้ยึดมั่น ทุกวันนี้สิ่งยั่วยุในสังคมมีมากมายที่จะก่อให้เกิดการทำชั่วได้ง่าย ๆ แต่หากใจเราตั้งมั่นอยู่ในคุณงามความดี มีหิริโอตตัปปะ มีความเกรงกลัวและละอายต่อบาป ไม่พ่ายแพ้ต่อกิเลสใด ๆ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น – ใช้จ่ายอย่างพอประมาณ ใช้จ่ายเงินที่มีอยู่อย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่อยากได้อยากมีจนเกินตัว เช่น เห็นคนอื่นเขาใช้กระเป๋าแพง ๆ ยี่ห้อ ดัง…

Read More ““เศรษฐกิจพอเพียง” หนทางแห่งความสุขจากพ่อหลวงของปวงชนชาวไทย” »

การเกษตรแบบพอเพียง

เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่หลายคนไม่เคยรู้

Posted on March 16, 2017March 16, 2017 By minad
เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่หลายคนไม่เคยรู้

ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ในเรื่องที่ต้องการให้คนไทยรู้จักการใช้จ่ายอย่างประหยัด พอดีตน หรือไม่ใช่จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับตัวเอง แต่ในที่นี้ก็ไม่ได้หมายถึงให้ทุกคนนั้นต้องประหยัดสุดๆ แค่ให้ใช้เงินตามกำลังที่ตัวเองพึงหาและกระทำได้ ซึ่งหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นประกอบไปด้วย 5 ส่วน สำคัญ ดังนี้ 1. กรอบแนวคิด – เป็นปรัชญาที่แนะนำในเรื่องของการใช้ชีวิตและการดำรงอยู่ รวมไปถึงการปฏิบัติตัวเองในสิ่งที่เหมาะสม ซึ่งพื้นฐานแรกก็มาจากการใช้ชีวิตในสังคมไทย สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นการมองโลกในลักษณะที่เข้าใจว่าโลกเองมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นในเรื่องของการเอาตัวรอดจากปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความมั่นคงและความยั่งยืนต่อการพัฒนา 2. คุณลักษณะ – เศรษฐกิจพอเพียง เป็นสิ่งที่ทุกๆ คนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดก็ตาม เน้นไปที่เรื่องของการเดินสายกลางและการพัฒนาในเรื่องต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน 3. คำนิยาม – ความพอเพียงที่เป็นสูตรสำเร็จจะต้องประกอบไปด้วย 3 คุณลักษณะสำคัญ ดังนี้ 3.1 ความพอประมาณ – คือความที่เป็นอยู่อย่างพอดี ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไปจนทำให้รู้สึกว่าเป็นการเบียดเบียนตัวเองหรือคนอื่นๆ อาทิ เรามีเงินเท่าไหร่เราก็รู้จักการใช้ให้เหมาะสมกับตัวเอง มีเงินเยอะก็สามารถใช้เยอะได้แต่ก็ต้องรู้จักเก็บเลือกใช้ในสิ่งที่ต้องการ หรือถ้าหากมีเงินน้อยก็เลือกใช้อย่างพอดีตนไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินไป 3.2 ความมีเหตุผล – เป็นการตัดสินใจในเรื่องของความพอเพียงด้านต่างๆ จะต้องเป็นสิ่งที่มาจากเหตุผล ซึ่งต้องพิจารณาจากปัจจัยโดยรอบที่มีความเกี่ยวข้องและยังต้องพูดถึงผลต่างๆ ที่คาดว่าจะได้รับด้วยในการที่เรากระทำสิ่งนั้นลงไป 3.3…

Read More “เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่หลายคนไม่เคยรู้” »

การเกษตรแบบพอเพียง

การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ตามหลักในหลวงรัชกาลที่ 9

Posted on March 16, 2017March 16, 2017 By minad
การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ตามหลักในหลวงรัชกาลที่ 9

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ทรงถือได้ว่าเป็นกษัตริย์ที่คนไทยทุกคนรักยิ่งกว่าชีวิตเพราะพระองค์ท่านทรงงานอันเหน็ดเหนื่อยแก่ปวงชนชาวไทยมาตลอดชีวิต ทรงดำริสิ่งต่างๆ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีโครงการต่างๆ มากมายที่ทรงสร้างขึ้นมาเพื่อพี่น้องชาวไทย และหนึ่งในโครงการที่พระองค์ทรงทำให้กับคนไทยนั่นก็คือ การทำให้คนไทยรู้จักการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง กุ้งก้ามแดง หรือที่บางคนเรียกว่า ล็อบสเตอร์น้ำจืด มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cherax quadricarinatus ได้เริ่มมีการทดลองและทำการวิจัยเพื่อหวังจะเลี้ยงให้ได้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยการทดลองเริ่มแรกนั้นได้ทำการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในบริเวณนาข้าวของเกษตรกรที่เป็นชาวเขา ที่บ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ ซึ่งนาข้าวที่เลี้ยงกุ้งก้ามแดงนี้ไว้นั้นเป็นนาข้าวของชาวเขาชนเผ่ากะเหรี่ยงที่ปลูกข้าวเอาไว้กินกันเองภายในครอบครัว และจากการทดลองเลี้ยงก็ได้เห็นว่ากุ้งก้ามแดงนั้นสามารถที่จะเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี มีอัตราในการมีชีวิตอยู่ที่ค่อนข้างดี ไม่ไปกัดกินหรือทำลายต้นข้าว มีประโยชน์ในส่วนมูลของกุ้งก้ามแดงยังสามารถที่จะนำไปทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้อีกด้วย ตรงส่วนนี้ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นข้าวนั้นเจริญงอกงามได้ดี มีผลผลิตที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว ทำให้เห็นผลชัดเจนว่าการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงนั้นประสบความสำเร็จอย่างมาก ด้วยความที่กุ้งก้ามแดงเป็นกุ้งที่มีรสชาติอร่อย มีลักษณะคล้ายเนื้อปู ทำให้กลายเป็นที่นิยมของคนไทยได้ไม่ยาก จริงๆ แล้วหากต้องการที่จะพบเห็นตามธรรมชาติ สามารถพบเห็นได้ในแถบอเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, ยุโรป, เอเชียตะวันออก, นิวกินี และออสเตรเลีย ซึ่งหากมองรวมๆ แล้วกุ้งชนิดนี้มีสายพันธุ์มากมายกว่า 300 ชนิดเลยทีเดียว โดยขนาดของกุ้งก้ามแดงที่สามารถกินได้จะมีน้ำหนักตั้งแต่ครึ่งกิโลกรัมไปจนถึง 2 กิโลกรัม เลยทีเดียว จากการทดลองเลี้ยงนี้ทำให้สามารถระบุได้ว่า เกษตรกรเองสามารถที่จะเลี้ยงกุ้งก้ามแดงผสมผสานไปกับการทำนาข้าวได้ โดยสามารถปล่อยกุ้งลงไปพร้อมๆ…

Read More “การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ตามหลักในหลวงรัชกาลที่ 9” »

การเกษตรแบบพอเพียง, การเลี้ยงสัตว์

Posts navigation

Previous 1 2 3 4 Next

หมวดหมู่น่าสนใจ

  • การปลูกผลไม้
  • การปลูกผัก
  • การเกษตรแบบผสมผสาน
  • การเกษตรแบบพอเพียง
  • การเลี้ยงสัตว์

doa

หลักปรัชญา

sufficient-econom

sufficient-economy

elementEconomy

elementEconomy-new

เกษตรผสมผสาน ตามรอยพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียง

ราคาน้ำมัน

ความรู้ล่าสุด

  • คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายที่แท้จริงคืออะไร April 29, 2019

ผู้สนับสนุน

sbo.club

Copyright © 2023 หลักการใช้ชีวิตวิถีเกษตรกรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง.

Powered by PressBook Green WordPress theme